วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันศุกร์ ที่ 21 ธันวาคม 2555

               ไม่มีการเรียนการสอน
         
     หมายเหตุ    เนื่องจากมีการสอบกลางภาคระหว่างวันที่ 20-26 ธันวาคม 2555
 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันศุกร์ ที่ 14 ธันวาคม 2555

              อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาการเรียนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

มาตรฐาน การวัด - นึกถึงเกณฑ์เป็นตัวบ่งบอกให้เรารู้ว่าตัวเรามีคุณภาพ

สสวท -ส่งเสริมสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือตัวหนึ่ง

การเล่นของเด็ก ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 การกระตุ้นวัตถุอย่างอิสระ

การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
     การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5
     การแสดงละครสร้างสรรค์เป็นการแดสงที่ต้องเน้นการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นได้รับรู้ ดังนี้ การฝึกปฏิบัติในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้เกิดความชำนาญ จะต้องมีความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง มีสมาธิในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการเรียนรู้ในการแสดงออก และเกิดจินตนาการ
     ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัสด้วยกาย เพื่อให้มีความไว และความละเอียด แล้วนำมาใช้ในการแสดงได้เป็นอย่างดี ดังนี้
     การได้เห็น  เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง ตา ซึ่งผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางตา เพื่อให้ไวต่อการสร้างสรรค์ผลงานโดยผู้แสดงจะต้องสังเกต และมองสิ่งรอบ ๆ ตัว เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดปัญหาในขณะกำลังแสดงอยู่
     การได้ยิน  เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง หู ผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางการฟัง เพราะอาจต้องใช้ในการแสดงบางประเทที่มีการบอกบทในขณะแสดง ระบบการได้ยินจึงต้องมีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการแสดงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ และสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
     การได้กลิ่น เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง จมูก ผู้แสดงจะต้องมีความไวต่อการได้กลิ่น และสามารถบอกได้ว่าเป็นกลิ่นอะไรแสดงสีหน้าท่าทางอย่างไรเมื่อได้กลิ่นนั้น ๆ
     การได้ลิ้มรส  เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง ลิ้น ผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางการชิมรส ต้องรับรู้รสต่าง ๆ ได้แม่นยำและสามารถแสดงสีหน้าท่าทางเมื่อได้รับรู้รสนั้น ๆ
     การได้สัมผัส  เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง มือ หรือ ผิวหนังส่วนอื่น ผู้แสดงจะต้องมีความรู้สึกไวต่อสิ่งของที่ได้สัมผัสแต่ละชนิดว่ามีลักษณะ อย่างไร เช่น ผิวหยาบ ผิวนุ่ม ผิวแข็ง และเมื่อได้สัมผัสสิ่งนั้น ๆ มีท่าทางความรู้สึกอย่างไร
     การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 อยู่เสมอ จะทำให้ผู้แสดงมีความรู้และการรับรู้ฉับไวในการแสดงแต่ละอย่าง และสามารถสร้างสรรค์งานละครได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
     กิจกรรมที่นำมาฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีหลายกิจกรรม เช่น
     1.  ฝึกการมอง  ให้นักแสดงฝึกมองสิ่งต่าง ๆ โดยให้ดูลักษณะภายนอกที่มองเห็นว่าเป็นสิ่งใด แล้วฝึกการแสดงออกโดยใช้สายตา เพื่อสื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจ เช่น เห็นสัตว์ดุร้าย ทำตาโตแบบตกใจเห็นแสงสว่างมาก หรี่ตาและใช้มือบังตา เป็นต้น
     2.  ฝึกการฟังเสียง  ให้นักแสดงทายเสียงดนตรี หรือเสียงสัตว์ต่าง ๆ โดยไม่ให้เห็นที่มาของเสียง จากนั้นจึงแสดงท่าทางประกอบ โดยให้สอดคล้องกับเสียงที่ได้ยิน เช่น ได้ยินเสียงดังให้เอามือปิดหู ได้ยินเสียงกระซิบให้เอามือป้องหู เป็นต้น
     3.  ฝึกการดมกลิ่น  ให้นักแสดงหลับตาและดมกลิ่น แล้วทายว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร เช่น ดอกไม้ ผลไม้ ผัก เป็นต้น จากนั้นฝึกแสดงท่าทางประกอบให้สอดคล้องกับกลิ่นที่ได้สัมผัส เช่น ได้ดมกลิ่นเหม็นให้เอามือปิดจมูก ได้ดมกลิ่นหอมให้ทำท่าสูดกลิ่นอย่างแรง เป็นต้น
     4.  ฝึกการชิมรส  ให้นักแสดงหลับตาทายอาหารที่ชิมหลาย ๆ ชนิดว่าเป็นอาหารประเภทไหน ชื่ออะไร เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น จากนั้นจึงฝึกแสดงท่าทางประกอบให้สัมพันธ์กับการรับรู้รสนั้น ๆ เช่น ได้รับรู้รสเผ็ดให้แสดงอาการซู้ดปาก และเอามือพัดปากได้รับรู้รสขมให้ทำหน้าตาบูดเบี้ยว เป็นต้น
     5.  ฝึกการสัมผัส  ให้นักแสดงหลับตาแล้วคลำสิ่งของต่าง ๆ โดยใช้การสัมผัส เช่น ใช้มือคลำสิ่งของต่าง ๆ แล้วทายว่าเป็นอะไร จากนั้นฝึกแสดงท่าทางประกอบ โดยให้สอดคล้องกับสิ่งที่ได้สัมผัส เช่น ได้สัมผัสกับขนปุยของลูกสุนัขให้แสดงท่าทางเอามือลูบไล้เบา ๆ ได้สัมผัสหนามแหลมคมให้กระตุกมือขึ้น เป็นต้น

     จังหวะกับการเคลื่อนไหว
     การฝึกเคลื่อนไหวให้สัมพันธ์กับจังหวะถือว่าเป็นพื้นฐานการแสดงอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการฝึกการใช้อวัยวะทุกส่วนให้เคลื่อนไหวอย่างคล่องแคคล่วและสอด คล้องกับจังหวะที่ได้ยิน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การแสดงต่าง ๆ ที่พร้อมจะเคลื่อนไหวไปตามอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดต่อสิ่งต่าง ๆ ที่มากระตุ้น เช่น เสียงรถไฟ เสียงดนตรี เป็นต้น เพื่อให้ได้ลีลาสวยงามและมีศิลปะ
     การเคลื่อนไหวตามจังหวะอาจฝึกได้จากการเดิน การวิ่ง การกระโดด เป็นต้น โดยให้สอดคล้องกับจังหวะที่ได้ยิน

     การแสดงละครใบ้
     การแสดงละครใบ้ คือ การแสดงโดยไม่ใช้คำพูด แต่จะใช้ท่าทางคำพูด ซึ่งผู้แสดงจะต้องแสดงกิริยาท่าทางให้ผู้ชมเข้าใจความหมายให้ได้
     การกระทำกิริยาท่าทางในการแสดงละครใบ้ ผู้แสดงต้องแสดงให้ชัดเจนมากที่สุด เพื่อสามารถสื่อให้ผู้ชมทายได้ว่า กำลังอะไรหรือเป็นอะไร เช่น แต่งหน้า ทานข้าว หรือแสดงเป็นตำรวจ คนตาบอด เป็นต้น
บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันศุกร์ ที่ 7 ธันวาคม 2555

           นำการบ้านมาส่งอาจารย์ ที่อาจารย์ให้จับคู่ 2 คน ทำหน่วยอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
      
         " ผัก "

1.นับจำนวนผักที่มีในตะกร้าทั้งหมด
2.เขียนตัวเลขแทนจำนวนผักที่มีทั้งหมด
3.จับคู่ผักที่มีขนาดเหมือนกัน
4.แยกประเภทผักที่มีสีเขียว
5.เปรียบเทียบขนาดผักที่มีสีเขียว
6.จัดลำดับสีของผักที่มีสีเขียวอ่อนไปหาสีเขียวเข้ม
7.นำผักทั้งหมดมาวางไว้ในกล่อง แล้วดูว่าผักสีเขียวใส่ได้กี่ชิ้น
8.การวัดความยาวของผัก
9.เซตของผักที่มีสีเขียว
10.แบ่งผักออกเป็น 2 ตะกร้าเท่าๆกัน
11.เรียงผักแล้วให้เด็กๆเรียงตาม
12.ปั้นดินน้ำมันให้เป็นรูปผัก

  รายชื่อ
1.นางสาวธนาภรณ์ โคกสีนอก เลขที่ 27
2.นางสาวธารากมล โภคัง      เลขที่ 36

      วันนี้อาจารย์ได้สอน ในเรื่องที่สอนยังคงเป็นในเรื่องของขอบข่ายของคณิตศาสตร์ทั้ง 12 ข้อ โดยยกตัวอย่างกับกล่องที่เตรียมมา ว่าจะนำมาใช้จัดประสบการณ์ได้อย่างไร เมื่ออาจารย์ยกตัวอย่างครบทั้ง 12 ข้อแล้วอาจารย์ก็ได้ให้เริ่มกิจกรรมดังนี้
ให้จับกลุ่ม 11 คนแล้วนำกล่องที่เตรียมมาของทุกคนในกลุ่มมาต่อกันให้เป็นรูปตามความคิดของแต่ละคนในกลุ่ม โดยที่มีข้อบังคับว่า 
 
- กลุ่ม 1 วางแผน ปรึกษา พูดได้ 
- กลุ่ม 2 วางแผน แต่พูดไม่ได้
- กลุ่ม 3 วางแผน พูดได้ แต่ต้องติดทีละคน
 
หลังจากทุกกลุ่มสร้างผลงานเสร็จแล้ว ก็ได้นำผลงานมาส่งหน้าห้อง
อาจารย์ ได้พูดถึงการนำวัสดุรอบตัวมาใช้กับการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สุงสุด แล้วอาจารย์ก็ได้เริ่มดูผลงานแต่ละชิ้น โดยผลงานแต่ละกลุ่มมีชื่อ ดังนี้ 

- กลุ่ม 1 หุ่นยนต์
- กลุ่ม 2 สถานนีรถไฟบางรัก
- กลุ่ม 3 บ้านหลากสี
 
 
   
 
 

งานที่ได้รับมอบหมาย :

1.ให้แต่ละกลุ่มประดิษฐ์งานที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่มอบหมาย ดังนี้
  - กลุ่มแรก ประดิษฐ์ที่ร้อยจำนวน
  - กลุ่มสอง ประดิษฐ์ปฏิทิน
  - กลุ่มสาม ประดิษฐ์ที่วัดแบบกราฟ
2.ให้เขียนชื่อเรื่องงานวิจัยที่หามา โดยที่งานวิจัยนั้นๆต้องเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์



บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันศุกร์ ที่ 30 พฤศจิกายน 2555

          วันนี้อาจารย์สอนและอธิบายเรื่องขอบข่ายของคณิตศาสตร์ ว่ามีอะไรบ้าง ในระดับปฐมวัยศึกษาของเนื้อหาหรือทักษะ 

(นิตยา ประพฤติกิจ) มีดังนี้

1.การนับ ->เลข (สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เรียกว่า ตัวเลขฮินดูอารบิก)
     การจัดลำดับ ->1 2 3 4 5 6 ตำแหน่ง

2.ตัวเลข ->กำกับค่า ลำดับที่ เช่น มากกว่า น้อยกว่า

3.การจับคู่ -> สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน จำนวนกับจำนวน

4.การจัดประเภท 

5.การเปรียบเทียบ -> ใช้การสังเกต เด็กจะตอบตามที่ตาเห็น/กระประมาณ 
     หาค่า/เอาค่านั้นมาเปรียบเทียบ

6.การจัดลำดับ -> หน้า/หลัง ,  เตี้ย/สูง ,  ก่อน/หลัง

7.รูปทรงและพื้นที่ -> รูปทรงมิติ เนื้อที่ ปริมาณ ความจุ

8.การวัด -> หาค่า ปริมาณ ความยาว

9.เซต -> การจับกลุ่ม

10.เศษส่วน -> การแบ่งให้เท่าหรือไม่เท่า  ,เศษส่วน

11.การทำตามแบบหรือลวดลาย -> การทำตามแบบที่อยู่บนพื้นฐานวิธีการเรียนรู้ของเด็ก                   / ต้องมีอิสระ   ในการตัดสินใจ

12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
     -> -รูปธรรม-เห็นจริงปฏิบัติจริง
         -นามธรรม-สามารถคิดได้โดยไม่ต้องเห็นรูป หรือปฏิบัติจริง
         -กึ่งสัญลักษณ์-ถ้าเป็นส้อมก็ให้ใช้รูปส้อมมาให้เด็กดู
         -การอนุรักษ์-เด็กจะมองว่าบอกปริมาณคงที่แม้รูปร่างจะเปลี่ยนแปลงไป

(เยาวพา เดชะคุปต์) มีดังนี้ 

1.การจัดกลุ่มหรือเซต สิ่งที่ควรสอนได้แก่ การจับคู่ 1:1 การจับคู่สิ่งของ การรวมกลุ่มกลุ่มที่เท่ากันและความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข

2.จำนวน 1-10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่ จำนวนคี่

3.ระบบจำนวนและชื่อของตัวเลข 1=หนึ่ง 2=สอง

4.ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ เช่น เซตรวมการแยกเซต

5.คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม

6.ลำดับที่สำคัญและประโยชน์คณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยชน์คณิตศาสตร์ที่แสดงถึง จำนวน ปริมาตร คุณภาพต่างๆ เช่น มาก-น้อย  สูง-ต่ำ

7.การวัด ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของเงินตรา อุณหภูมิ รวมถึงมาตราส่วนและเครื่องมือในการวัด

8.รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น รูป สิ่งของที่มีมิติต่างๆจากการเล่นเกมส์และจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบๆตัว

9.สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิการเปรียบเทียบต่างๆ

***อาจารย์สั่งงานอาทิตย์หน้าให้นำกล่องที่มีรูปทรงมาคนละ 1 กล่อง***




บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

   วันศุกร์ ที่ 23 พฤศจิกายน 2555
          
                 วันนี้ทางคณะ ได้จัดกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์มีพิธีเปิดและพิธีปิด ต่างให้ทุกคนเข้าร่วมรวมทั้งมีอาจารย์เข้าร่วมด้วยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาของแต่ละสี
              
 ดิฉันได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล

ภาพกิจกรรม

 


 


 


การจัดกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์สิ่งที่ได้รับในครั้งนี้คือ

1.ความสามามัคคีซึ่งกันและกันในหมู่คณะ
2.ความมีน้ำใจ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย
3.ได้ความสนุกสนาน