วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วันศุกร์ ที่ 16 พฤศจิกายน 2555

          วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่มกับเพื่อนกลุ่มละ 3 คน แล้วให้มาสรุปงานที่ได้ไปหามาของแต่ละคนในสัปดาห์ที่แล้ว 
          กลุ่มของดิฉันมีสมาชิกตังนี้
1.นางสาวปริชญา บุญล้ำเลิศ เลขที่ 19
2.นางสาวธนาภรณ์ โคกสีนอก เลขที่ 27
3.นางสาวอรอนงค์ อ้วนวงษ์ เลขที่ 31

          1. ความหมายของคณิตศาสตร์
 - คณิตศาสตร์จัดเป็นภาษอย่างหนึ่ง ที่กำหนดขึ้นด้วยหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ ที่รัดกุมพร้อมสื่อความหมายได้ถูต้อง และยังทำให้เรารู้จักแก้ปัยหาเป็น มีเหตุผล ในการทำสิ่งต่างๆ

อ้างอิง : Keith Gregson, Max Black และยุพิน พิพิธกุล

          2. จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์
- เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาในการคิดคำนวณ สามารถนำคณิตศาสตร์ไปใช้ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และในการดำรงชีวิตให้มีคุณภาพ จึงต้องให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะดังนี้
  1. มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ และการคิดรวบยอดของวิชาคณิตศาสตร์
  2. รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล และมีความสามารถในการแก้ปัญหา
  3. มีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์
  4. สามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพ

อ้างอิง : พร้อมพรรณ อุดมสิน (2533) การจัดและประเมินผลการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ หน้า9
            เรวัตร พรหมเพ็ญ (2537) พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา
            นิตยา ประพฤติกิจ (2536) การพัฒนาเด็กปฐมวัย

          3. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
 - แนวคิดของทฤษฎีของคณิตศาสตร์ เด็กต้องมีการแก้ปัญหา แสดงความคิดเห็นเพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดจากการเรียนรู้ในด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งครูต้องมีการเรียนรู้อย่างมีระบบระเบียบโดยเน้นผู้เรียนเป็นหลักให้มากที่สุด

 อ้างอิง : นิตยา ประพฤติกิจ (2536) การพัฒนาเด็กปฐมวัย

          4. ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
 - 1. การนับ
   2. ตัวเลข
   3. การจับคู่
   4. การจัดประเภท
   5. การเปรียบเทียบ
   6. การจัดลำดับ
   7. รูปทรง
   8. การวัด
   9. เซต
  10. เศษส่วน
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย
  12. การอนุรักษ์
     และกิจกรรมสำหรับเด็กวัยก่อนเรียนในการสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กเป็นสิ่งที่ครูควรศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก

 อ้างอิง : เยาวพา เดชะคุปต์  กิจกรรมสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน
            นิตยา  ประพฤติกิจ ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

          5. หลักการสอนของคณิตศาสตร์
  1. ควรให้นักเรียนได้ปฏิบัติ และทำกิจกรรมด้วยตนเอง
  2. ควรสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เป็นกันเองระหว่างครูกับนักเรียน
  3. ใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น
  4. เชื่อมโยงระหว่างสื่อกับความเข้าใจด้านคณิตศาสตร์ของเด็ก
  5. การจบชั่วโมงเรียนด้วยความประทับใจ

 อ้างอิง : Maxa Sobel (2544) ศิลปะการสอนคณิตศาสตร์ หน้า 9-26 ผู้แปล ดร.ฉวีวรรณ เศวตมาตย์
            เยาวพา เดชะคุปต์ (2545) การศึกษาความพร้อมทางคณิตศสาตร์
            นิตยา ประพฤติกิจ (2536) การพัฒนาเด็กปฐมวัย


       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น