วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556


วันจันทร์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556

         สรุปงานวิจัย  เรื่อง การคิดอุปนัยของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเรียงลำดับ ( จารุวรรณ วงศ์สิงห์ )

        สรุปบทนำ
               
              การคิดแบบเชิงตรรก หมายถึง การคิดที่เกี่ยวกับหลักการ กฎเกณฑ์ในการใช้เหตุผลเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพและการตัดสินใจโดยแสดงความคิดออกมาเป็นภาษาอย่างมีเหตุผล ซึ่งทำให้เด็กเกิดทักษะการคิดมากขึ้น  รู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองรวมทั้งเข้าใจวิธีแก้ปัญหาในทางรูปธรรมได้ การสอนอุปนัย คือ การสอนที่ให้ผู้เรียนไปสู่ข้อเท็จจริงต่างๆ โดยการให้ตัวอย่าง เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการสังเกต เปรียบเทียบความคล้ายคลึงและความแตกต่างของตัวอย่างเพื่อที่จะได้มาดังข้อสรุปเป็นความคิดรวบยอดของตนเอง การเล่นเกมจะฝึกให้เด็กสังเกต รู้จักหาเหตุผล รู้จักการเปรียบเทียบ มีความละเอียดถี่ถ้วนพร้อมทั้งรู้จักนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

        ความมุ่งหมายของการวิจัย

              เพื่อเปรียนเทียบเสริมทักษะด้านต่างๆ การคิด การสังเกต การหาความสัมพันธ์และการเปรียนเทียบความแตกต่างของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเล่นเกมการศึกษาเรียงลำดับ

       ความสำคัญของการวิจัย

              การวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบถึงการคิดอุปนัยของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการเล่นเกมการศึกษาเรียงลำดับ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครู ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนาการคิดอุปนัย ตลอดจนเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเล่นที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการคิดอุปนัยให้แก่เด็กปฐมวัย

      สมมติฐานการวิจัย

              เด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเรียงลำดับมีการคิดอุปนัยสูงขึ้น

        กลุ่มตัวอย่าง

              เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาจำนวน 25 คน
 
       ตัวแปรที่ศึกษา

           1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การเล่นเกมเรียงลำดับ
           2. ตัวแปรตาม ได้แก่ การคิดอุปนัย

        สรุปผลการวิจัย

             1.เด็กปฐมวัยที่ได้รับการเล่นเกมเรียงลำดับ มีการคิดอุปนัยสูงขึ้นกว่าก่อนการทดสอบ อย่างมีนัยสำคัณทางสถิติที่ระดับ .01
             
             2.เด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเรียงลำดับ มีการเปลี่ยนแปลงการคิดอุปนัยสูงขึ้นกว่าการทดสอบในการเปรียบเทียบความแตกต่างมาเป็นอันดับแรก รองมาด้านการหาความสัมพันธ์และด้านการสังเกตตามลำดับ

แหล่งที่มา http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Jaruwan_W.pdf
                

              

               
            


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น