บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันศุกร์ ที่ 30 พฤศจิกายน 2555
วันนี้อาจารย์สอนและอธิบายเรื่องขอบข่ายของคณิตศาสตร์ ว่ามีอะไรบ้าง ในระดับปฐมวัยศึกษาของเนื้อหาหรือทักษะ
(นิตยา ประพฤติกิจ) มีดังนี้
1.การนับ ->เลข (สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เรียกว่า ตัวเลขฮินดูอารบิก)
การจัดลำดับ ->1 2 3 4 5 6 ตำแหน่ง
2.ตัวเลข ->กำกับค่า ลำดับที่ เช่น มากกว่า น้อยกว่า
3.การจับคู่ -> สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน จำนวนกับจำนวน
4.การจัดประเภท
5.การเปรียบเทียบ -> ใช้การสังเกต เด็กจะตอบตามที่ตาเห็น/กระประมาณ
หาค่า/เอาค่านั้นมาเปรียบเทียบ
6.การจัดลำดับ -> หน้า/หลัง , เตี้ย/สูง , ก่อน/หลัง
7.รูปทรงและพื้นที่ -> รูปทรงมิติ เนื้อที่ ปริมาณ ความจุ
8.การวัด -> หาค่า ปริมาณ ความยาว
9.เซต -> การจับกลุ่ม
10.เศษส่วน -> การแบ่งให้เท่าหรือไม่เท่า ,เศษส่วน
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย -> การทำตามแบบที่อยู่บนพื้นฐานวิธีการเรียนรู้ของเด็ก / ต้องมีอิสระ ในการตัดสินใจ
12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
-> -รูปธรรม-เห็นจริงปฏิบัติจริง
-นามธรรม-สามารถคิดได้โดยไม่ต้องเห็นรูป หรือปฏิบัติจริง
-กึ่งสัญลักษณ์-ถ้าเป็นส้อมก็ให้ใช้รูปส้อมมาให้เด็กดู
-การอนุรักษ์-เด็กจะมองว่าบอกปริมาณคงที่แม้รูปร่างจะเปลี่ยนแปลงไป
(เยาวพา เดชะคุปต์) มีดังนี้
1.การจัดกลุ่มหรือเซต สิ่งที่ควรสอนได้แก่ การจับคู่ 1:1 การจับคู่สิ่งของ การรวมกลุ่มกลุ่มที่เท่ากันและความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
2.จำนวน 1-10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3.ระบบจำนวนและชื่อของตัวเลข 1=หนึ่ง 2=สอง
4.ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ เช่น เซตรวมการแยกเซต
5.คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม
6.ลำดับที่สำคัญและประโยชน์คณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยชน์คณิตศาสตร์ที่แสดงถึง จำนวน ปริมาตร คุณภาพต่างๆ เช่น มาก-น้อย สูง-ต่ำ
7.การวัด ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของเงินตรา อุณหภูมิ รวมถึงมาตราส่วนและเครื่องมือในการวัด
8.รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น รูป สิ่งของที่มีมิติต่างๆจากการเล่นเกมส์และจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบๆตัว
9.สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิการเปรียบเทียบต่างๆ
***อาจารย์สั่งงานอาทิตย์หน้าให้นำกล่องที่มีรูปทรงมาคนละ 1 กล่อง***